วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

คอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมและแพร่หลายกันเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเราสามารถดูข้อมูลข่าวสารได้ทั่วทุกมุมโลก

ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนต่างๆ เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น นำเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ และ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองการเรียนการสอนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

e-learning

e - Learning

การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

วิธีการหนึ่งที่ผู้ใช้มากในอีเลิร์นนิง คือ การสอนบนเว็บ โดยผู้สอนจะใส่เนื้อหาบทเรียนไว้ในเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนได้ในเวลาที่ต้องการ เนื้อหาบทเรียนเหล่านี้จะเป้นลักษณะสื่อหลายมิติโดยมีการเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งเว็บไซต์เดียวกันและเว็บไซต์ภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีเลิร์นนิ่งสามารถใช้ได้ทั้งการเรียนในห้องเรียนในลักษณะใช้เว็บเสริมและวิชาเอกเทศในการศึกษาทางไกลที่ผุ้เรียนเรียนจากบทเรียนด้วยตนเอง นอกจากใช้ในการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว ยังสามารถใช้อีเลิร์นนิงในการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในหน่วยงานต่างๆ ได้ด้วย

จุดประสงค์

เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมสามารถนำบทเรียนในระบบ e-Learning ไปใช้ในการจัดการการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียนได้

เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรม เกิดความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ หรือทักษะ ดังนี้

1. ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบหรือให้ความรู้ผู้บริหารระบบให้สามารถดูแลหรือบำรุงรักษาระบบ e-Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างบทเรียนหรือครู ที่สามารถนำบทเรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. แนะนำผู้เรียนให้สามารถใช้บทเรียนในระบบ e-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนได้

วัตถุประสงค์
ระบบ e-Learning มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะ ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่ผู้ที่สนใจจะศึกษาหาความรู้และผู้ ปฏิบัติงาน รวมถึงการแก้ปัญหาให้กับผู้ด่อยโอกาส หรือพื้นที่ที่ขาดบุคลากรครู ให้ได้รับการศึกษาที่ได้มาตราฐานอย่างเท่าเทียมกันทั่วทุกพื้นที่

เป้าหมาย

มีความรู้ ความสามารถและทักษะ เกี่ยวกับการใช้ระบบ E-Learning เท่าเทียมกันทั่วทุกพื้นที่

ข้อดี ข้อเสีย

ข้อดี

· เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล

· ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน

· ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน

· ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

· ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

· เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

· สนับสนุนการเรียนการสอน

· เกิดเครือข่ายความรู้

· เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

· ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น

ข้อเสีย

· ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน

· ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

· ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน

· ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

วิเคราะห์แผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

วิเคราะห์แผนการเรียนรู้


แผนการจัดการเรียนรู้

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551

นางสิริพร กุ่ยกระโทก

ครู อันดับ คศ.3

โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

1) สาระหลัก

สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร

สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม

สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

2) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communication)

มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ นำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะในการสื่อสารทางภาษา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มาตรฐาน ต 1.3 เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน การสื่อสาร ข้อมูล ความคิดเห็น และความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพมีสุนทรียภาพ

สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม (Culture)

มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างความเหมือน และแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา กับภาษา และวัฒนธรรม และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ

สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น (Connection)

มาตรฐาน ต 3.1 เข้าใจภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนา และเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก (Community)

มาตรฐาน ต 4.1 สามารถใช้ภาษาต่างประเทศตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต 4.2 สามารถใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การศึกษาต่อการประกอบอาชีพ การสร้างความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันในสังคม

จากผลการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้พบว่า ยังใช้หลักสูตรเดิมอยู่ จัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ฝึกทักษะการใช้ภาษาของผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ทั้งใน - นอกห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กฝึกการใช้ภาษา และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้

1 . รูปแบบการเรียนการสอน

การเรียนการสอน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่าง เราจะใช้เนื้อหาอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป และควรมีการจัดกิจกรรมควบคู่ไปด้วย มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กเข้าไปด้วย เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด

2 . ปัญหา การแก้ปัญหา

เด็กแต่คนมีความสามารถที่แตกต่างกัน การที่แต่ละคนจะเข้าใจเนื้อหานั้นย่อมแตกต่างกัน การเรียนการสอนนั้นควรเน้นการทำวานร่วมกัน เพื่อที่จะให้เด็กได้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน และเราก็ควรที่จะสอดส่องดูแลเอาใจใส่ มีการวัดผลการเรียนอยู่เสมอ เพื่อที่จะดูว่าเด็กแต่ละคนเก่งหรืออ่อนด้านใดบ้าง อาจมีการจัดการเรียนการสอนนอกตารางเรียนหรือวันว่างเพื่อให้เด็กที่อ่อนได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น

3 . การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน

เนื่องจากปัจจุบันกลายเป็นยุกต์นวัตกรรมและเทคโนโลยี สื่อมีจำนวนมากมายหลายประเภท สื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นต้องเหมาะสมกับเด็ก เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และบางครั้งอาจจำเป็นที่จะต้องใช้สื่อตามธรรมชาติเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ การนำสื่อเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนทำให้เด็กได้เห็นโลกทัศมากขึ้น เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหามากกว่าในตำรา แต่ก็ไม่ควรที่จะมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เด็กติดสื่อมากกว่าเนื้อหาที่จะเรียน จึงควรมีการจัดกิจกรรมอื่นๆเสริมด้วยเพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างถึงขีดสุด

4. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

สำหรับการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่างประเทศนั้น เนื่องจากปัจจุบันภาษาต่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก การจัดการเรียนรู้จึงเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม อาจจะมีการจัดตั้งชมรมขึ้นเพื่อให้เด็กได้รับความรู้ และวัฒนธรรมของชนชาตินั้นมากยิ่งขึ้น มีการเลือกใช้สื่อเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น มีการฝึกทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ เพื่อติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ได้ทั้งของนักเรียนและครูผู้สอนเอง ว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อที่จะนำไปแก้ไขหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีก

จุดเริ่มต้นของการศึกษา

จุดเริ่มต้นของการศึกษา

หู (การได้ยิน)

ตา (การสังเกต)

ปาก (การสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูล)

การสัมผัส

สีหน้า ท่าทาง

อารมณ์ ความรูสึก

ธรรมชาติ

สิ่งเหล้านี้ล้วนแล้วแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆ